ประวัติโรงเรียน

School History

โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ก่อตั้งขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๒๖ ซึ่งในขณะนั้นโรงเรียนไม่มีอาคารเรียน ได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนบ้านกองลม สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๖ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านกองลม ได้จัดสรรพื้นที่ประมาณ ๖๔ ไร่ ๑ งาน ให้เป็นพื้นที่ของโรงเรียน ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๒๖ ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม” ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๒๗ กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนไม้ชั่วคราวแบบ ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง โดยมีนายอนันต์ ขันฑราช เป็นครูใหญ่คนแรก มีจำนวนนักเรียน ๓๓ คน ครู ๖ คน

โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคมในอดีต

ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับการจัดสรรงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๑๐๘ ล จำนวน ๑ หลัง โรงฝึกงาน แบบ ๑๐๒/๒๗ จำนวน ๑ หลัง ส้วมนักเรียนแบบ ๖ ที่นั่ง จำนวน ๒ หลัง

ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นายอนันต์ ขันฑราช ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ คือ นายประมวล พุทธานนท์ ได้รับจัดสรรงบประมาณค่าก่อสร้าง หอถังประปา ๑ ถัง บ้านพักครู ๒ หลัง บ้านพักนักเรียนแบบ ๘ ที่นอนจำนวน ๕ หลัง บ้านพักนักการภารโรง ๑ หลัง ระบบไฟฟ้า ปรับปรุงถนนในบริเวณโรงเรียน และขุดสระน้ำโดยได้ขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท

ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ นายประมวล พุทธานนท์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่โรงเรียนแม่อายวิทยาคม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ คือ นายประเสริฐ ละลิบบัณฑิตสกุล ได้รับจัดสรรงบประมาณ ถังเก็บน้ำแบบ ฝ ๓๓ จำนวน ๓ ชุด หอประชุม แบบ ๑๐๐/๒๗ จำนวน ๑ หลัง ถนนคอนกรีตขนาดกว้าง ๓.๐๐ เมตร ยาว ๒,๘๐๐ เมตร จานรับสัญญาณดาวเทียมไกลกังวล จำนวน ๑ ชุด อาคารเรียน ๒๑๖ ล จำนวน ๑ หลัง รถยนต์บรรทุกเล็ก จำนวน ๑ คัน คอมพิวเตอร์ จำนวน ๓ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร จำนวน ๑ ชุด สนามบาสเกตบอลแบบมาตรฐาน จำนวน ๑ สนาม และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นายประเสริฐ ละลิบบัณฑิตสกุล ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียน - อมก๋อยวิทยาคม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ คือ นายไพฑูรย์ สารีพันธุ์ ได้รับจัดสรรงบประมาณปรับปรุงสนามฟุตบอล ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จำนวน ๑ ชุด ครุภัณฑ์ห้องสมุด จำนวน ๑ ชุด ครุภัณฑ์โต๊ะเก้าอี้นักเรียน จำนวน ๘๐ ชุด ครุภัณฑ์เพาะเห็ด จำนวน ๑ ชุด รถยนต์ตู้บริจาคจากกรมสามัญศึกษา (ปีการศึกษา ๒๕๔๖) จำนวน ๑ คันและได้รับจัดสรรห้องเรียนสีเขียว จำนวน ๑ ห้อง จากการสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นายไพฑูรย์ สารีพันธุ์ เกษียณอายุราชการ ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ ได้แก่ นายบุญเสริญ สุริยา ได้นำโรงเรียนเข้าสู่โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน และพัฒนาโรงเรียน -เวียงแหงวิทยาคมจนผ่าน การประเมินและรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๔๙ และผ่านการประเมินรับรองให้เป็นโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๙

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นายบุญเสริญ สุริยา ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ ได้แก่ นายไพโรจน์ ศิริ ได้จัดสรรงบประมาณปรับปรุงสวนหย่อมและขยายถนนภายในโรงเรียน ปรับปรุงห้องสำนักงานกลางให้เป็นรูปแบบ One Stop Service ปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้มีคุณภาพ

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นายไพโรจน์ ศิริ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนไชยปราการ ขณะนั้นยังไม่มีผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการคนใหม่

ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ได้ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม คือ นายธงชัย พูลศิรเจริญกุล จึงดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ได้รับรางวัลชมเชย การประเมินนักเรียนเพื่อรับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประเภทนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ขนาดกลาง ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔ ได้จัดตั้งสมาคมผู้ปกครอง ครู โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม

ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นายธงชัย พูลศิรเจริญกุล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ โดยมี นายประวัติ พรหมนิล ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม

วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ นางสุริยา ชุ่มมะโน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างซุ้มหลังคาทางเดินเท้าระหว่างอาคารเรียน ต่อเติมหลังคากันสาดหน้าอาคารเรียน ๒ ปรับปรุงหอประชุม ปูกระเบื้องและทาสี จัดทำห้องเรียนคุณภาพโดยการติดตั้งใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนทุกห้อง ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่นเหมาะแก่การเรียนรู้ และใช้ระบบการบริหารสารสนเทศเพื่อการจัดการ

วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ นายประวัติ ผันผาย ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ได้ระดมทรัพยากรเพื่อสร้างรั้วโรงเรียน และจัดสรรงบประมาณร่วมกับสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ในการจัดหาซื้อยานพาหนะ (รถตู้) เป็นของโรงเรียน ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อรองรับการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคตของผู้เรียน

วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ นางภักดิ์ศรินญา คมน์สุทธิแสน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ซึ่งได้ระดมทรัพยากรสร้างถนนรอบอาคาร ๒๑๒ ล/๕๗ ข สร้างลานที่พักนักเรียนหน้าอาคารโรงฝึกงาน สปช.๑๐๒/๒๖ ให้นักเรียนได้ใช้จัดกิจกรรมการเรียน และได้ทำบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาด้านโอกาสและคุณภาพการศึกษา (MOU) หลักสูตรห้องเรียนอาชีพรูปแบบทวิศึกษาร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ และวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่

วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นายประพันธ์ บุญวรรณ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม ได้ทำบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนาด้านโอกาสและคุณภาพการศึกษา (MOU) หลักสูตรห้องเรียนอาชีพรูปแบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ และวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ และได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBEC QA ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระมหากรุณาทรงรับโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคมเป็นโรงเรียน ในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ภายใต้การบริหารของนายประพันธ์ บุญวรรณ์

วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖ นางสาวณัฎฐา จันสุวรรณกุล ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแหงวิทยาคมจนถึงปัจจุบัน พัฒนาหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยี (ISMTP) และหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังฤษ-ภาษาจีน (IECP) ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างลานกิจกรรมส่งเสริมเชิดชูเกียรตินักเรียน สร้างห้องเรียนส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ระดมทรัพยากรในการจัดหาชุดวงโยธวาทิต และต่อยอดหลักสูตรห้องเรียนอาชีพทั้งรูปแบบทวิศึกษาและรูปแบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank)

อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเอื้องผึ้ง (อาคารเรียน แบบ ๑๐๘ ล)
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเอื้องหลวง (อาคารเรียน ๒๑๖ ล)
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเอื้องผาเวียง (อาคารเรียน ๒๑๒ ล/๕๗ข)
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเอื้องผาเวียง (อาคารเรียน ๒๑๒ ล/๕๗ข)
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
หอประชุมเอื้องดอย (หอประชุม แบบ ๑๐๐/๒๗)
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเรียน โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
อาคารเอื้องเงิน (โรงฝึกงาน แบบ ๑๐๒/๒๗)
  • ติดต่อ